เมนู

7. สฬายตนวิภังคสูตร



[617] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
สฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระ
พุทธเจ้าข้า.
[618] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบ
อายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6 หมวดวิญญาณ 6 หมวดผัสสะ 6
ความนึกหน่วงของใจ 18 ทางดำเนินของสัตว์ 36 ใน 36 นั้น พวกเธอ
จงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ
ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
อันเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็น
อุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์.
[619] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน 6 นั้น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อาตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ
อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ ว่า
พึงทราบอายตนะภายใน 6 นั้น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว.

[620] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก 6 นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือ
กลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์. ข้อที่
เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก 6 นั้น เราอาศัยอายตนะนี้
กล่าวแล้ว.
[621] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ 6 นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา
วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวด
วิญญาณ 6 นั้น เราอาศัยวิญญาณนี้ กล่าวแล้ว.
[622] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ 6 นั้น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ 6 นั่น
เราอาศัยสัมผัสนี้กล่าวแล้ว.
[623] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ 18
นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วง
รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา.
เพราะฟังเสียงด้วยโสต...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์

เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา. ฉะนั้น เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส 6 ฝ่ายโทมนัส
6 ฝ่ายอุเบกขา 6. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ 18
นั้น เราอาศัยความนึกหน่วงนี้ กล่าวแล้ว.
[624] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ 36 นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน 6 โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6
โทมนัสอาศัยเรือน 6 โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6 อุเบกขาอาศัยเรือน 6
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ 6.
[625] ใน 36 ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน 6 เป็นไฉน. คือ
บุคคลเนื้อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตน
ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับ
ไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้ นี้เราเรียกว่า
โสมนัสอาศัยเรือน.
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต...
บุคคลเนื้อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส
โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะใน
ก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น
โสมนัสเช่นนี้ นี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน 6.

[626] ใน 36 ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6 เป็นไฉน.
คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ
ดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ.
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของรสทั้งหลายนั้นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นและ..
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยงเป็น
ทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่น
นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6.
[627] ใน 36 ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน 6 เป็นไฉน. คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของ
อันทนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไป

แล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้ นี่เรา
เรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน.
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อัน
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส
โดยเป็นของอันคนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมย์ที่ไม่เคยได้เฉพาะ
ในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส
โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน 6
[628] ใน 36 ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6 เป็นไฉน
คือ บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูปในก่อน และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไป
ตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะ
ที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความ
ปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลทราบความไม่เทียง ความแปรปรวน ความคลาย และความ
ดับ ของเสียงทั้งหลายนั่นแล...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ
ดับ ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล...

บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ
ดับ ของรสทั้งหลายนั้นแล...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ
ดับ ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแล...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ
ดับ ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตร-
วิโมกข์ เนื้อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเรา
จึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทม-
นัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เรียกว่า โทมนัสอาศัย
เนกขัมมะ เหล่านี้ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ.
[629] ใน 36 ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน 6 เป็นไฉน. คือ
เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะ
กิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขา
เช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัย
เรือน.
เพราะฟังเสียงด้วยโสต...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น

อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน 6.
[630] ใน 36 ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ 6 เป็นไฉน.
คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ
ดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ.
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล. . .
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นและ. . .
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของรสทั้งหลายนั้นแล . . .
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแล. . .
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ
ความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้
นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัย
เนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ 6. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
ทางดำเนินของสัตว์ 36 นั้น เราอาศัยทางดำเนินนี้ กล่าวแล้ว.

[631] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ 36 นั้น พวก
เธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไร
กล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน 36 ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิง
โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6 นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน 6
นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้น ๆ ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน 36 ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัย
เนกขัมมะ 6 นั้น ๆ แล้วละคือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน 6 นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้น ๆ ได้. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ใน 36 ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
6 นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน 6 นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อม
เป็นอันละอุเบกขานั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้น ๆ ได้. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ใน 36 ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ
6 นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6 นั้น ๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้น ๆ ได้. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ใน 6 ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
6 นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ 6 นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อม
เป็นอันละโสมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้น ๆ ได้.
[632] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัย
อารมณ์ต่าง ๆ ก็มีอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี.
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ เป็นไฉน. คือ
อุเบกขาที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่
ความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ.

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน. คือ
อุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญ-
จัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โนอุเบกขา 2 อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิง
อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่ง
อุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ
อุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย
คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วง
อุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ 36 นั้น พวกเธอ
จงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ
การล่วง นี้ กล่าวแล้ว.
[633] ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ 3 ประการที่
พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว.
[634] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประ-
โยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อม
ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอน
ของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวย
ความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ 1 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็น
ศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่.
[635] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุ-
เคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้ง
หลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่า
สาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ
ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม
ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้น
แล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียก
ว่าการตั้งสติประการที่ 2 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควร
เพื่อสั่งสอนหมู่.
[636] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้
อนุเคราะห์แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก
ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ.
เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ
หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้
ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ 3 ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบ
การตั้งสติ 3 ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อ
สั่งสอนหมู่ นั้นเราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว

[637] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้
ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือ
ทิศใต้. ม้าที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน
คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้. โคที่ควรฝึก
อันอาจารย์ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก
หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้. แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคต
ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง 8 ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป
ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้ทิศที่ 1. ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูป
ทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ 2. ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ 3.
ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูป
สัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจมานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ 4.
ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ 5. ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะ
อยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการ
ทั้งปวง นี้ทิศที่ 6. ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญ-
จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ 7. ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ 8. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อม
วิ่งไปได้ทั่วทั้ง 8 ทิศดังนี้ . ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถี

ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้
กล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ 7

อรรถกถาสฬตนวิภังคสูตร



สฬายตนวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวทิตพฺพานิ ความว่า พึงรู้ด้วยมรรค
อันมีวิปัสสนา. บทว่า มโนปวิจารา ได้แก่ วิตกและวิจาร. จริงมนะที่ยัง
วิตกให้เกิดขึ้น ท่านประสงค์ว่า มนะ ในที่นี้. ชื่อว่า มโนปวิจารา เพราะ
อรรถว่า เป็นความนึกหน่วงของใจ. บทว่า สตฺตปทา ได้แก่ ทางดำเนิน
ของสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัยวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็ในที่นี้ ทางดำเนินสู่วัฏฏะมี
18 ประการ ทางดำเนินสู่วิวัฏฏะมี 18 ประการ. ทางดำเนินแม้เหล่านั้น
พึงทราบด้วยมรรคอันมีวิปัสสนานั้นแล. บทว่า โยคาจริยานํ ความว่า ผู้
ให้ศึกษาอาจาระมี หัตถิโยคะ เป็นต้น ได้แก่ ผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึก. บทที่
เหลือจักแจ่มแจ้งในวิภังค์นั้นเทียว. บทว่า อยมุทฺเทโส นี้ เป็นบทตั้งมาติกา.
อายตนะทั้งหลายมีจักษุอายตนะเป็นต้น ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า
จกฺขุวิญฺญาณํ ได้แก่ จักษะวิญญาณทั้งสอง โดยวิบากของกรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล. แม้ในปสาทวิญญาณที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็วิญญาณที่
เหลือเว้น วิญญาณ 5 ประการนี้ ชื่อว่า มโนวิญญาณในที่นี้. บทว่า จกฺขุ-
สมฺผสฺโส
ได้แก่ สัมผัสในจักษุ. นั้นเป็นชื่อของสัมผัสที่ประกอบด้วยจักษุ
วิญญาณ. ในสัมผัสทั้งหลายแม้ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จกฺขุนา รูปํ
ทิสฺวา
ความว่า เพราะเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน
บทว่า โสมนสฺสฏฺฐานียํ ได้แก่ เป็นเหตุด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ของโสมนัส.
บทว่า อปวิจรติ ความว่า ใจย่อมนึกหน่วง ด้วยความเป็นไปของวิตก ใน
ความนึกหน่วงของใจนั้น. พึงทราบความนึกหน่วงของใจ กล่าวคือ วิตก